test nameรวบตึง... เทคนิคบริหาร Cash Flow ให้คล่องตัวได้ดั่งใจ

26 ส.ค. 2565

SME Playbook

Cash Flow (กระแสเงินสด) ชื่อนี้การันตีความสำคัญ เนื่องจากเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในการดำเนินธุรกิจ เปรียบเสมือนน้ำมันเชื้อเพลิงในการขับเคลื่อนธุรกิจให้ไปข้างหน้า เมื่อใดก็ตามที่มีการซื้อขาย มีการจ้างพนักงาน หรือแม้แต่ค่าวัตถุดิบต่างๆ นั่นคือต้องใช้เงินทั้งสิ้น หากว่าเราสามารถที่จะวางแผนต้นทุน การดำเนินงาน การโปรโมตสินค้า และรอบคอบในการบริหารเงิน ทุกๆ อย่างจะบาลานซ์และได้ผลตอบแทนกลับมาเป็นกำไรอย่างแน่นอน แต่หากเกิดกรณีที่เงินออกมากกว่าเงินเข้าก็แสดงให้เห็นถึงปัญหาในการดำเนินงาน หรือเกิดข้อผิดพลาดในการวางแผนธุรกิจ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้ยาก หากไม่อยากเจอสถานการณ์เช่นนั้น สามารถบริหาร Cash Flow ของธุรกิจตนเองได้จากข้อมูลด้านล่างนี้ได้เลยค่ะ

1. มอง Cash Flow เป็นหัวใจหลัก

ผู้ประกอบการบางท่านจะชอบให้ความสำคัญกับกำไรเป็นใจหลักสำคัญ ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องผิด แต่หากว่าเราเปลี่ยนเป็นให้ความสำคัญกับ Cash Flow ในธุรกิจมากกว่า เราจะสามารถควบคุมและคอยเน้นย้ำอยู่เสมอเพื่อไม่ให้เงินเกิดสะดุด จะช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นหนี้หรือธุรกิจหยุดชะงักจากการขาดเงินสดในมือได้ 

2. เข้าใจกระบวนการของธุรกิจ

เราต้องรู้จักธุรกิจของเราก่อน ทั้งเรื่องของต้นทุน ค่าแรง ค่าใช้จ่ายทั่วๆ ไป รวมถึงค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นด้วย รวมถึงส่วนของรายรับจากช่องทางการขายทั้งหมด ลองพิจารณาบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อให้รู้แหล่งที่มาของรายได้ รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ต้องใช้ในการดำเนินธุรกิจ เมื่อได้ข้อมูลเหล่านี้จะรู้ได้ทันทีว่าสถานการณ์ธุรกิจในตอนนี้เป็นอย่างไร กำลังขาดทุนหรือได้กำไร และสามารถปรับลดต้นทุนบางอย่างที่มากเกินความจำเป็นออก เพื่อรักษาบาลานซ์ของรายรับรายจ่ายให้เหมาะสม มีความคล่องตัวมากเพียงพอ และหากไม่อยากเจอกับปัญหาปวดหัวในภายหลัง แนะนำว่าให้ลองสำรวจตลาด และ Demand การซื้อให้ดีก่อนการลงทุน

3. อัปเดต Cash Flow อยู่เสมอ

หมั่นตรวจเช็ก Cash Flow อยู่เสมอ เนื่องจากต้นทุน ค่าใช้จ่าย รวมถึงรายรับต่างๆ อาจปรับตัวสูงขึ้นหรือลดลงได้ตลอดเวลาจากปัจจัยภายนอก เช่น ภาวะเงินเฟ้อ ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ยอดขายที่ไม่เป็นไปตามเป้า เป็นต้น เพื่อให้สามารถปรับการใช้จ่ายเงินได้อย่างทันท่วงที ลดการเกิดปัญหารายจ่ายมากกว่ารายรับ รวมถึงเตรียมความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ทางการค้าเพื่อให้เงินหมุนกลับเข้ามาในธุรกิจให้มากที่สุดด้วย

 

สาระ SME น่ารู้ที่เกี่ยวข้อง